เมนู

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ภ. เพราะฉะนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับ
แล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ ปิณโฑลยสูตรที่ 8

อรรถกถาปิณโฑลยสูตรที่ 8



พึงทราบวินิจฉัยในปิณโฑลยสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กิสฺมิญฺจิเทว ปกรเณ ได้แก่ ในเพราะเหตุบางอย่างนั่นเอง.
บทว่า ปณาเมตฺวา แปลว่า ไล่ออกไป.
ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขับไล่ภิกษุเหล่านี้ไปใน
เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า ความจริงมีอยู่ว่า ภายในพรรษาหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับจำพรรษาอยู่ในเมืองสาวัตถี ออกพรรษาปวารณาแล้ว
แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จออกจากเมืองสาวัตถีเที่ยวจาริกไป
ในชนบท เสด็จถึงเมืองกบิลพัสดุ์ แล้วเสด็จเข้าไปยังนิโครธาราม.
เจ้าศากยะทั้งหลายได้สดับ (ข่าว) ว่า พระศาสดาเสด็จมาถึงแล้ว
หลังเสวยพระกระยาหารเสร็จทรงรับสั่งให้ราชบุรุษทั้งหลายหาบ
เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น และน้ำปานะที่เป็นกัปปิยะ
หลายร้อยหาบ เสด็จไปสู่วิหารมอบถวายพระสงฆ์ ถวายบังคม
พระศาสดาแล้วประทับนั่งทำปฏิสันถาร (กับพระศาสดา) ณ ที่สมควร
ส่วนข้างหนึ่ง. (ฝ่าย) พระศาสดาประทับนั่งตรัสธรรมกถาอันไพเราะ
ถวายเจ้าศากยะเหล่านั้น.

ขณะนั้น ภิกษุบางพวกกำลังเช็ดถูเสนาสนะ บางพวกกำลัง
จัดตั้งเตียงและตั่งเป็นต้น (ส่วน) สามเณรทั้งหลายกำลังถากหญ้า.
ในสถานที่แจกสิ่งของ ภิกษุที่มาถึงแล้วก็มี ภิกษุที่ยังมาไม่ถึงก็มี
ภิกษุที่มาถึงแล้วจะรับลาภแทนภิกษุที่ยังมาไม่ถึง ก็พูดเสียงดังขึ้นว่า
จงให้แก่พวกข้าพเจ้า จงให้แก่อาจารย์ของพวกข้าพเจ้า จงให้แก่
อุปัชฌาย์ของพวกข้าพเจ้า.
พระศาสดาทรงสดับแล้วได้ตรัสถามพระอานนทเถระว่า
อานนท์ ก็พวกที่ส่งเสียงดังเอ็ดอึงนั้นเป็นใคร คล้ายจะเป็นชาวประมง
แย่งปลากัน. พระเถระกราบทูล (ให้ทรงทราบ) เนื้อความนั้น.
พระศาสดาทรงสดับแล้วตรัสว่า อานนท์ ภิกษุทั้งหลายส่งเสียงดัง
เพราะอามิสเป็นเหตุ. พระเถระกราบทูลว่า ใช่ พระเจ้าข้า.
พระศาสดาตรัสว่า อานนท์ ไม่สมควรเลย ไม่เหมาะสมเลย
เพราะเราตถาคตบำเพ็ญบารมีมาตั้ง 4 อสงไขย กำไรแสนกัลป์
เพราะจีวรเป็นต้น เป็นเหตุก็หามิได้ ทั้งภิกษุเหล่านี้ออกจากเรือนบวช
เป็นอนาคาริก เพราะจีวรเป็นต้น เป็นเหตุก็หามิได้. พวกเธอบวชเพราะ
ความเป็นพระอรหันต์เป็นเหตุ (แต่) กลับมาทำสิ่งที่ไม่มีประโยชน์
ให้เป็นเหมือนกับสิ่งที่มีประโยชน์ ทำสิ่งที่ไม่มีสาระให้เป็นเหมือนสิ่งมี
สาระไปเถิดอานนท์ จง (ไป) ขับไล่ภิกษุเหล่านั้น (ให้ออกไป).
บทว่า ปุพฺพณฺหสมยํ คือในเวลาเช้า ในวันรุ่งขึ้น. บทว่า
เวลุวลฏฺฐิกาย มูเล คือ ที่โคนต้นมะตูมอ่อน. บทว่า ปพาฬฺโห แปลว่า
(ภิกษุสงฆ์อันเรา) ขับไล่แล้ว. ปาฐะว่า ปพาโฬ ก็มี ความหมาย
(ก็เท่ากับ) ปพาหิโต (ขับไล่แล้ว).
ทั้งสองบท ย่อมแสดงถึงภาวะที่ถูกนำ (ขับไล่) ออกแล้วนั่นแล.

บทว่า สิยา อญฺญถตฺตํ ความว่า พึงมีความเลื่อมใสเป็น
อย่างอื่น หรือพึงมีภาระเป็นอย่างอื่น.
ถามว่า พึงมีอย่างไร?
ตอบว่า ก็เมื่อภิกษุลดความเลื่อมใส (ในพระผู้มีพระภาคเจ้า)
ลงด้วยคิดว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงขับไล่พวกเรา ในเพราะเหตุ
เล็กน้อย ชื่อว่ามีความเลื่อมใสเป็นอย่างอื่น. เมื่อพวกเธอหลีกไปเข้ารีต
เดียรถีย์พร้อมทั้งเพศทีเดียว ชื่อว่า มีเพศเป็นอย่างอื่น.
ส่วนการที่กุลบุตรผู้บวชแล้วทั้งหลายมั่นใจว่า พวกเราจัก
สามารถกำหนด (ทราบ) พระอัธยาศัยของพระศาสดาให้ได้ แล้ว
ไม่สามารถกำหนด (ทราบ) ได้ จึงคิดว่าเราจะบวชไปทำไม แล้วบอก
ลาสิกขาหวนกลับมาเป็นคนเลว (สึก) พึงทราบว่า ความเปลี่ยนแปลง
ในคำว่า สิยา วิปริณาโม นี้.
บทว่า วจฺฉสฺส ได้แก่ ลูกวัวที่ยังดื่มนม.
บทว่า อญฺญถคฺตํ ได้แก่ ความเป็นอย่างอื่นคือความซบเซา.
อธิบายว่า ลูกวัวที่ยังดื่มนม เมื่อไม่ได้ (ดื่ม) น้ำนม หาแม่ไม่เจอ ย่อม
ซบเซา สะทกสะท้าน หวั่นไหว.
บทว่า วิปริณาโม ได้แก่ ความตาย. อธิบายว่า ลูกวัวนั้น
เมื่อไม่ได้น้ำนม ก็จะซูบผอมลงเพราะความระหาย (ไม่ช้า) ก็จะล้มลง
ขาดใจตาย.
บทว่า พีชานํ ตรุณานํ ได้แก่ พืชที่งอกแล้วต้องได้น้ำช่วย.
บทว่า อญฺญถตฺตํ ได้แก่ ความเป็นอย่างอื่นคือความเหี่ยวแห้ง
นั่นเอง อธิบายว่า พืชเหล่านั้นเมื่อไม่ได้น้ำก็จะเหี่ยวแห้ง.

บทว่า วิปริณาโม ได้แก่ ความเสียหาย. อธิบายว่า พืชเหล่านั้น
ไม่ได้น้ำก็จะเหี่ยวแห้งเสียหายไป จะมีเหลืออยู่ก็แต่ซากเท่านั้น.
บทว่า อนุคฺคทิโต ความว่า ได้รับอนุเคราะห์แล้วด้วยการ
อนุเคราะห์ด้วยอามิส และการอนุเคราะห์ด้วยธรรม.
บทว่า อนุคฺคณฺเทยฺยํ ความว่า เราตถาคตพึงอนุเคราะห์ด้วย
การอนุเคราะห์ด้วยอามิส และการอนุเคราะห์ด้วยธรรมทั้งสองอย่างนั้น.
เพราะว่า สามเณรและภิกษุหนุ่มผู้บวชใหม่ เมื่อมีความขาดแคลน
ด้วยปัจจัยมีวีจรเป็นต้น หรือเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้น พระศาสดาหรือ
อุปัชฌาย์อาจารย์ยังมิได้อนุเคราะห์ด้วยการอนุเคราะห์ด้วยอามิส
ก็จะลำบาก ไม่สามารถทำการสาธยายหรือใส่ใจ (ถึงธรรมได้)
(เธอเหล่านั้น) อันพระศาสดาหรืออุปัชฌาย์อาจารย์ยังมิได้อนุเคราะห์
ด้วยการอนุเคราะห์ด้วยธรรม ก็จะเสื่อมจากอุเทศและจากโอวาทานุสาสนี
(การแนะนำพร่ำสอน) ไม่สามารถจะหลีกเว้นอกุศลมาเจริญกุศลได้.
แต่ (เธอเหล่านั้น) ได้รับอนุเคราะห์ด้วยการอนุเคราะห์ทั้งสองนี้แล้ว
ก็จะไม่ลำบากกาย ประพฤติในการสาธยายและใส่ใจ (ถึงธรรม)
ปฏิบัติตามที่พระศาสดาหรืออุปัชฌาย์อาจารย์พร่ำสอนอยู่ ต่อมา
แม้ไม่ได้รับการอนุเคราะห์นั้น (แต่) ก็ยังได้กำลัง เพราะการอนุเคราะห์
ครั้งแรกนั้นนั่นแล (จึงทำให้) มั่นคงอยู่ในศาสนาได้ เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเกิดปริวิตกอย่างนี้ขึ้น.

พรหมมาเฝ้าพระพุทธเจ้า


บทว่า ภควโต ปุรโต ปาตุรโหสิ ความว่า ท้าวมหาพรหม
ได้ทราบพระดำริของพระศาสดาแล้วได้ (มา) ปรากฏ เฉพาะพระพักตร์